ทิศทางการพัฒนาการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 ได้กำหนด กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2561 – 2564 โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์
ตัวชี้วัดความสำเร็จ แนวทางหรือมาตรการการพัฒนาสู่ความสเร็จ
รวมทั้ง ค่านิยมขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียด
ดังนี้
ค่านิยม
นำสมัย ใส่ใจบริการ ทำงานเป็นทีม
วิสัยทัศน์ (Vision)
ภายในปี 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต 5 เป็นองค์กรคุณภาพชั้นนำ
โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา
พันธกิจ (Missions)
1. ส่งเสริม
สนับสนุนให้สถานศึกษามุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่
21 (3Rs
8Cs)
2. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคให้แก่ประชากรวัยเรียนในการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่เหมาะสมทัดเทียมกันตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลายสู่การเป็นมืออาชีพ
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
สู่ความเป็นเลิศ
5.
ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา”เป็นแนวทางในการจัดการการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
เป้าประสงค์ (Goals)
1. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการ
เรียนรู้ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่เหมาะสมทัดเทียมกันตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีทักษะในศตวรรษที่
21 (3Rs
8Cs)
3.ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานอย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลายสู่การเป็นมืออาชีพ
4. สถานศึกษาทุกแห่งมีคุณภาพตามาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต 5 มีคุณภาพตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5. เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาทุกแห่งน้อมนำศาสตร์
พระราชาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กลยุทธ์ (Strategies)
1.
เพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมทางการศึกษา
2. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่
21
3. เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่
1 เพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมทางการศึกษา
เป้าหมายความสำเร็จ
1. ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษาได้เข้าเรียนในระดับ
ป.1 ร้อยละ 100
2. อัตราการออกกลางคันของผู้เรียนในสังกัดเขตพื้นที่ไม่มีหรือลดลง
3. ผู้เรียนที่จบชั้น ป.6 ได้เรียนต่อ ชั้น ม.1 ร้อยละ 100
4. ผู้เรียนที่จบ ม. 3 ได้เรียนต่อ ชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า ร้อยละ 90 ขึ้นไป
5. ผู้เรียนพิการ ด้อยโอกาส และผู้ที่มีความสามารถพิเศษได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพ
ร้อยละ 80 ขึ้นไป
มาตรการ
1.
เร่งรัด ติดตาม การเกณฑ์เด็กเข้าเรียนตามสำมะโนนักเรียน
2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร์
ในการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัวองค์กรชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
3. สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสและเด็กไร้สัญชาติให้เต็มตามศักยภาพด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
5.
ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาให้ทั่วถึง
โครงการสำคัญ
โครงเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิตอลและส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21
เป้าหมายความสำเร็จ
1. ผู้เรียนในสังกัดผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน
การเขียน และการคิดคำนวณตามจุดเน้นของหลักสูตร ร้อยละ 90 ขึ้นไป
2. ผู้เรียนในสังกัดผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะสำคัญที่จำเป็นในการเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร
ร้อยละ 90 ขึ้นไป
3. คะแนนผลการทดสอบ
NT ของนักเรียนชั้นป.3 เพิ่มด้านใดด้านหนึ่ง
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 หรือเพิ่มขึ้นทุกด้าน
4. คะแนนผลการทดสอบ
O-NETของนักเรียนชั้น ป.6และม.3 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
5. ผู้เรียนร้อยละ
100 มีความรู้คุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอัน
พึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย
12 ประการ ตามช่วงวัย
มาตรการ
1. ปรับปรุงหลักสูตรในระดับปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ
และจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน
ชุมชน ท้องถิ่น
2. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง
(Active Learning)
เน้นทักษะกระบวนการ
ให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์
ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ทั้งใน และนอกห้องเรียน
4. ส่งเสริมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ
ภาษาประเทศคู่ค้า และภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ภาษา
5. พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลทุกระดับ
ให้มีคุณภาพและมาตรฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
6. พัฒนาผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา
ให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ให้มีความพร้อมเข้าสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้น
7. สนับสนุนการผลิต
จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายรวมทั้งการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน
และนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
8. ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการเรียนรู้การวัดและประเมินผล โดยเน้นให้มีการวิจัยในชั้นเรียน
9. น้อมนำแนวพระราชดำริสืบสานพระราชปณิธานและพระบรมราโชบายด้านการศึกษาหรือ
ศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
10. ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี ความสมานฉันท์ สันติวิธี
และยึดมั่นในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริทรงเป็นประมุข
11. ส่งเสริม
สนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย
12 ประการ ตามช่วงวัย
12. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่เช่น อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ สิ่งเสพติดภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ ฯลฯ
13. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ ผ่านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และความเป็นพลเมือง
โครงการสำคัญ
โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่
21
กลยุทธ์ที่ 3. เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
เป้าหมายความสำเร็จ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะประจำสายงาน
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
เช่น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional
Learning community: PLC)
และการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติ (Active Learning )
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่
21
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณของความเป็นครู
ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
5.
ครูและบุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
มาตรการ
1. พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับยุค
Thailand 4.0 ได้อย่างหลากหลาย
2.
พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและจิตบริการ
3.
พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning community: PLC)
5.
ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยทางการศึกษา
โครงการสำคัญ
โครงการยกระดับศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 บริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
เป้าหมายความสำเร็จ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับดีมากขึ้นไป
2.
สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพที่แข้มแข็ง
3. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบกำกับ
ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
4. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการ
5. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบสารสนเทศ
สื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
6. ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ
80 มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับดีขึ้นไป
มาตรการ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพโดยใช้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.
สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาระบบกำกับ
ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
4. สร้างความเข้มแข็งในการยกระดับคุณภาพการศึกษารูปแบบเครือข่ายเช่น
เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มโรงเรียน
5. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาระบบสารสนเทศ
สื่อสารและระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่มีมาตรฐานเชื่อมโยงและเข้าถึงได้
6. พัฒนานวัตกรรมหรือการวิจัยในการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคThailand
4.0
7. นำผลการดำเนินงานมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
โครงการสำคัญ
โครงการองค์กรคุณภาพชั้นนำ
หมายเหตุ
คุณภาพ หมายถึง คุณภาพของผู้เรียน บุคลากร และองค์กร
คุณภาพผู้เรียน
หมายถึงคุณภาพตามทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
(3Rs 8Cs)
คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
หมายถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนเป็นที่ยอมรับตามสมรรถนะประจำสายงาน
คุณภาพองค์กร หมายถึง
การบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในสังกัดประสบผลสำเร็จสามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานได้
ตัวชี้วัด
หมายถึงสิ่งที่บ่งบอกหรือแสดงให้เห็นว่า
เป็นองค์กรคุณภพาชั้นนำ ได้แก่
เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ผลสำเร็จด้านคุณภาพ ได้แก่ ผลการทดสอบระดับชาติ ได้แก่ O-NET, NT , PISA ผลการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรม
ผลการประเมินด้านต่างๆ เป็นที่ประจักษ์และสามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานจากหน่วยงานอื่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
GMT+7, 25-3-2023 21:15 , Processed in 0.042271 second(s), 16 queries .
Powered by Discuz! X3.3 R20170401, Rev.54
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5© 2001-2022 Comsenz Inc.